top of page

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560

การดำเนินกิจกรรม

                   ในวันนี้นักเรียนได้สำรวจพื้นที่รอบบริเวณโรงเรียนวัดศาลาแดง  เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการปลูกผัก แต่ว่าแปลงเกษตร เป็นพื้นที่ต่ำ และน้ำท่วมขัง จึงต้องเปลี่ยนแนวทางในการสร้าง โดยเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ ไฮโดรโพนิกส์นั่นเอง จึงได้เลือกโรงเกษตรเป็นพื้นที่ในการจัดทำ Smart Farm School  เมื่อได้พื้นที่แล้ว จึงได้ช่วยกันเก็บและย้ายอุปกรณ์ไปเก็บไว้ในอีกห้องหนึ่ง และทำความสะอาดโรงเกษตร และจัดพื้นที่ว่างสำหรับแปลงต่อไป

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2560

การดำเนินกิจกรรม

                   ในวันนี้ ได้ทำการสอนและอธิบายหลักการทำงาน ของระบบ Raspberry Pi  และ Reley การสอนวิธีการเขียนโคดต่าง ๆ ลงใน Raspberry Pi  และ ให้นักเรียนดูตัวอย่าง  ตัว Raspberry Pi  ที่ประกอบติดตั้งกับ Reley และอธิบายการเชื่อมต่อสายไฟเข้า ออก โดยใช้ลูกเต๋าต่อไฟเป็นตัวเชื่อมต่อไฟฟ้า และให้นักเรียนลองประกอบและให้คำแนะนำเพิ่มเติม

จัดการเรียนรู้เรื่องส่วนประกอบต่าง ๆ

นักเรียนลงมือประกอบ Raspberry Pi 

ภาพ  Raspberry Pi   ที่ต่อเสร็จแล้ว

วันที่ 16 ธันวาคม 2560

การดำเนินกิจกรรม

                   สืบเนื่องจากครั้งที่แล้ว ที่ได้ให้นักเรียนทดลองออกแบบโดยการวาดระบายสีใส่กระดาษ  ในช่วงบ่าย ให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างและออกแบบแปลงพืชไร้ดิน แล้วโพสรูปลงในกลุ่ม Smart Farm School

ตัวอย่างแปลงที่นักเรียนแต่ละคนออกแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

วันที่ 19 ธันวาคม 2560

การดำเนินกิจกรรม

                   ครั้งที่แล้ว ได้ให้นักเรียนทดลองออกแบบแปลงพืชไร้ดินของตนเองมาคนละ 1 แปลง ในวันนี้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเพื่อนำข้อดีของแต่ละแบบมารวมกัน แล้วสร้างแปลงที่คิดว่าเหมาะสมกับพื้นที่ มากที่สุดและออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ออกมา เป็นแบบที่เลือกใช้ในการสร้างต่อไป

                   นักเรียนได้ลงมือประกอบแปลงผักไร้ดิน Hydroponics ตามที่ได้ออกแบบไว้ พร้อมทั้งเช็คระบบ การทำของของ Raspberry และปั้มน้ำ พร้อมทั้ง นำเมล็ดลงในฟองน้ำเพื่อเพาะต้นกล้าต่อไป

                   เรามาดูการเจริญเติบโตของ ผักกาดหอมของโรงเรียนวัดศาลาแดงกัน ลำต้นเริ่มแข็งแรงมากขึ้น มีการขยายใบจากลำต้นมากขึ้น แต่เนื่องด้วยสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝนตกบ่อย และมีแดดค่อนข้างน้อย ทำให้ต้องเพิ่มหลอดไฟในศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนวัดศาลาแดง อีก 1 ดวง เพื่อช่วยในการสังเคราะห์แสง และเพิ่มน้ำปริมาณปุ๋ย สูตร A B เพราะยิ่งพืชโต ปริมาณการใช้น้ำยิ่งมากขึ้น

                   เนื่องจากแสงในศูนย์การเรียนรู้ ของโรงเรียนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ในสัปดาห์นี้ นักเรียนโรงเรียนวัดศาลาแดง ได้ทำการสร้าง plant glow light (แสงเทียม) จากหลอด LED โดยใช้สี 2 สี คือ แดง และน้ำเงิน โดยมีอัตราส่วน แดง ต่อ น้ำเงิน คือ 80 : 20 และนำฟิวเจอบอร์ด และ Aluminum Foil มาดัดแปลงเป็นแผงสะท้อนหลอดไฟ

                  ในสัปดาห์นี้ นักเรียนโรงเรียนวัดศาลาแดงได้ทำการ ดูผลผลิต ผักไฮโดรโพนิกส์ เเล้วนะครับ ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมากครับ มีบ้างต้นที่ยังโตไม่ทัน แต่ส่วนมากเจริญเติบโตดีมาก เนื่อจากเราใช้ไฟ LED ช่วยในการสังเคราะห์แสง ตลอด 24 ชั่วโมงครับ เพิ่มเติมในวันนี้เด็กนักเรียนได้ทำการ ทิ้งปุ๋ย ของแปลงผักเป็นที่เรียบร้อยเเล้วครับ รอเก็บเเละจำหน่ายครับ #ทิ้งปุ่ย หมายถึง การทิ้งน้ำที่ผสมปุ๋ยทั้งหมดแล้วเติมน้ำเปล่าใส่ในระบบเพื่อผักดูดซึมน้ำเปล่าอย่างเดียว เป็นการล้างปุ๋ยออกจากผัก การทำเล่นนี้ ช่วยให้ผักไม่ขม หรือขมน้อยลงครับ ใช้เวลา 2-3 วันครับ

บริเวณแปลงเกษตร ที่น้ำท่วมขัง

การดำเนินกิจกรรม

                   ในวันนี้ ได้มีการจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนดู คลิปการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ใน Youtube ว่ามีกระบวนการอย่างไร ลักษณะการทำงานอย่างไรบ้างเป็นอย่างไรบ้าง  แล้วให้นักเรียน ทดลองออกแบบโดยใช้การวาดใส่กระดาษ และอธิบายสั้นๆ ตามความคิดของนักเรียนหลักจากดู วีดีโอเสร็จแล้ว

วันที่ 15 ธันวาคม 2560

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561

bottom of page