top of page

Site Title

Raspberry PI 3 Model B

                    คือ คอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียว หรือ SBC (Single Board Computer) ได้รับการตอบรับจากตลาดสากลอย่างรวดเร็ว การประยุกต์ใช้งานที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมนบอร์ดของอุปกรณ์สมาร์ตโฟนต่างๆ ซึ่งหนึ่งในบอร์ดที่ได้รับความนิยมและมีชุมชนการเรียนรู้ในอันดับต้นๆ คือ Raspberry PI 

                    เจ้า Raspberry PI: RPI มันสามารถทำอะไรเยอะแยะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ สามาถเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กให้เด็กเล็กฝึกเล่น ที่ผมให้ความสนใจในตัว Raspberry PI เพราะได้ไปรู้จัก IoT หรือเรียกกันเต็มๆ ว่า Internet of Things หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกควบคุม ดูแลผ่านอินเตอร์เน็ต 

ภาพที่ 1 Internet of Things
ที่มา: The Power of Us Seeking to Bring Customized Education to the Children of America, 2016

                    ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถสั่งงานที่เราต้องการได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีนักพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบสั่งการหรือโค้ดโปรแกรม เพื่อใช้สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจาก Internet of Things มีพื้นฐานอยู่บนระบบฝังตัว หรือสมองกลฝังตัว (embedded system) คือ ระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามที่มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่า “The Internet of Things it the interconnection of uniquely identifiable embedded computing devices within the existing Internet infrastructure.” Sundresan P., Norita Md N., Valliappan R., (2015) ซึ่งต้องมีอินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือระบบฝังตัว
 
                    ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อยอดสร้างชิ้นงานเชื่อมต่อเข้ากับ Internet of Things โดยมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย (Wireless LAN หรือ Wi-Fi) ได้ แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้
 
                    กลุ่มที่ 1 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ สำหรับ Internet of Things บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์กลุ่มนี้ ผู้ผลิตออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เราสามารถพัฒนาโปรแกรมลงในไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด ควบคุมอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมต่ออุปกรณ์เพื่อตรวจจับหรือแสดงผลได้ตามต้องการ พร้อมใส่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย Wi-Fi มาบนบอร์ดไม่จำเป็นต้องต่อเพิ่มเติมเอง ยกตัวอย่างเช่น Electric Imps, Spark Core, Arduino Yun, Intel Edison, Wireless Router ต่างๆ
 
                    กลุ่มที่ 2 โมดูลสื่อสารไร้สาย Internet of Things โมดูลบางตัวที่มีคุณสมบัติสามารถเป็นอุปกรณ์ Internet of Things ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมดูล ESP8266 ซึ่งราคาไม่สูง สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แม้ปัจจุบันยังมีอยู่ไม่มากและเข้าถึงยาก แต่ในอนาคตอันใกล้คาดว่าจะมีโมดูลแบบนี้ออกมาอีกหลายตัวแน่นอน ซึ่ง ESP8266 สามารถทำงาน Standalone เนื่องจากภายในมีไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่ (แต่ไม่สามารถโปรแกรมแบบทั่วไปได้) ต้องพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้ทำงานตามความต้องการ กลุ่มนักพัฒนาที่สนใจได้แบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไว้ ผู้ใช้อาจดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์ที่มีการทำงานตามที่เราต้องการมาติดตั้งใช้งาน
 
                    กลุ่มที่ 3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ + โมดูลสื่อสารไร้สาย ทำงานร่วมกันเป็น Internet of Things กลุ่มนี้เป็นการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคย ร่วมกับโมดูสื่อสารไร้สายที่มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ เขียนแอพพลิเคชั่นให้ทำงานในลักษณะคล้ายกับกลุ่มที่ 1 เพียงแต่เราต้องจับคู่เชื่อมต่อบอร์ดกับโมดูลต่างๆ เอง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Arduino ร่วมกับ Wi-Fi Shield หรือ UART Wi-Fi การใช้ Raspberry Pi กับ USB Wi-Fi Dongle เพียงเท่านี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ (บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด: มปป.)
 
                    จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ผมเลือกใช้ Raspberry PI 3 Model B เนื่องจากเป็น บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ + โมดูลสื่อสารไร้สาย ทำงานร่วมกันเป็น Internet of Things ทำให้สะดวกในการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น และไม่ต้องเดินสายแลนให้วุ่นวาย


รายละเอียดของ Raspberry PI 3 Model B
                    - Broadcom BCM2837 chipset running at 1.2 GHz
                    - 64-bit quad-core ARM Cortex-A53
                    - 802.11 b/g/n Wireless LAN
                    - Bluetooth 4.1 (Classic & Low Energy)
                    - Dual core Videocore IV® Multimedia co-processor
                    - 1 GB LPDDR2 memory
                    - Supports all the latest ARM GNU/Linux distributions and Windows 10 IoT
                    - microUSB connector for 2.5 A power supply
                    - 1 x 10/100 Ethernet port
                    - 1 x HDMI video/audio connector
                    - 1 x RCA video/audio connector
                    - 4 x USB 2.0 ports
                    - 40 GPIO pins
                    - Chip antenna
                    - DSI display connector
                    - microSD card slot>
                    - Dimensions: 85 x 56 x 17 mm
 
The raspberry pi GPIO

ภาพที่ 2 GPIO Raspberry PI 3 Model B
ที่มา: https://diyhacking.com/raspberry-pi-gpio-control/

อ้างอิง

บริษัท วีนัส ซัพพลาย. (ม.ป.ป.).บทความการพัฒนาโปรแกรมบน Raspberry Pi ด้วย Qt. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก                                                                    http://www.thaieasyelec.com/article-wiki/embedded-electronics-application/บทความการพัฒนาโปรแกรมบน-raspberry-pi-ด้วย-qt.html

ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล. (2559). มารู้จักคอมพิวเตอร์จิ๋ว Raspberry Pi กันเถอะ.  [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก                                                            

                    http://www.vcharkarn.com/maker/501923

sathittham sangthong. (2558). [RPi] เริ่มต้นกับ Raspberry Pi ตอนที่่ 1 : เกริ่นนำ. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก

                    http://www.sathittham.com/raspberry-pi/rpi-ep-1/

Sundresan P., Norita Md N., Valliappan R., (2015). Internet of Things (IoT) digital forensic  investigation model: Top-down forensic approach

                    methodology. Fifth International  Conference on Digital Information Processing and Communications (ICDIPC).

bottom of page